ความสำคัญของแคลเซียมบำรุงกระดูก
แคลเซียมถือว่าเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย โดยเฉพาะกระบวนการเสริมสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน และแคลเซียมไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่สร้างโครงกระดูกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย
มาดูความสำคัญของแคลเซียมบำรุงกระดูกกันว่ามีความสำคัญอย่างไร
-
เสริมสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูก
- แคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อกระดูก ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและคงทนต่อแรงกดดันหรือการบาดเจ็บ
- ในวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่กระดูกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับแคลเซียมเพียงพอ ช่วยพัฒนาความแน่นและโครงสร้างของกระดูกที่ดีต่อวัยเยาว์
-
การทำงานร่วมกับวิตามินดี
- แคลเซียมต้องการวิตามินดีเพื่อช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการขาดวิตามินดีจะส่งผลต่อความสามารถของร่างการต่อการใช้แคลเซียม ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตได้
- การรับประทานอาหารที่มีวิตามินหรือการสัมผัสแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูก
-
ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
- การรับแคลเซียมอย่างเพียงพอช่วยลดอัตราการสูญเสียมวลกระดูก และลดโอกาสการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ
- ในวัยผู้สูงอายุ การสูญเสียมวลกระดูกเป็นเรื่องปกติ หากขาดแคคลเซียมจะทำให้กระดูกเปราะบางและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
-
ป้องกันปัญหากระดูกในวัยชรา
- ในผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ กระดูกจะสูญเสียความหนาแน่นและความแข็งแรงอย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ เช่น กระดูกสะโพกหักหรือกระดูกในส่วนอื่นๆหัก ซึ่งอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และคุณภาพชีวิตในระยะยาว
วัยไหนที่ต้องการแคลเซียมมากที่สุด
-
เด็กและวัยรุ่น
เป็นช่วงที่กระดูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อสร้างความหนาแน่น ของกระดูกที่แข็งแรงในระยะยาว
-
วัยผู้ใหญ่
ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก และลดความเสื่อมสภาพของกระดูก
-
ผู้สูงอายุ
ลดความเสี่ยงของกระดูกพรุนและกระดูกหัก
-
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
แคลเซียมสำคัญสำหรับการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ และช่วยลดความเสี่ยงของการขาดแคลเซียมในมารดา
ข้อสรุป
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีบทบาทในหลายหน้าที่ของร่างกาย โดยเฉพาะในเรื่องของการเสริมสร้างและดูแลสุขภาพของกระดูกและฟัน กระดูกเปรียบเสมือนโครงสร้างที่คอยพยุงร่างกาย หากปราศจากแคลเซียม กระดูกจะอ่อนแอ เปราะบาง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต